มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - เกวียน ๗ ผลัด ทางลัดสู่นิพพาน
ครั้นพระปุณณะเดินทางมาถึง ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ตามลำพัง แล้วขอโอกาสลาไปนั่งปลีกวิเวกในป่าอันธวัน เมื่อพระสารีบุตรเถระทราบข่าวนั้น จึงรีบติดตามไป และได้สนทนาธรรมกับท่านว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” พระปุณณะตอบว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน”
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสชมพระเถระทุกรูปว่า วาจาของพระเถระทุกรูปต่างเป็นสุภาษิตเหมือนกัน เพราะทุกรูปปฏิบัติได้ตามปฏิปทาที่ตนเองพูด จากนั้นพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า...“ภิกษุในศาสนานี้กลับจากบิณฑบาต ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ตราบนั้นเราจะไม่ลุกจากที่เลย ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงดงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม
นางยักษิณีตนหนึ่ง ได้อุ้มอุตราผู้เป็นธิดา และจูงปุนัพพสุผู้เป็นลูกชายแสวงหาอาหารริมกำแพง และริมคูคลองหลังวัดพระเชตวัน เมื่อไปถึงซุ้มประตู นางก็เห็นพุทธบริษัทสงบนิ่งไม่ไหวติง ฟังธรรมด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีปตั้งไว้ในที่ที่ไม่มีลม จึงเกิดความเลื่อมใสแล้วคิดว่า ก็ในที่นี้คงจะมีของแจกให้เรากิน เพื่อประทังชีวิตได้แน่
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ผลแห่งการฟังธรรม
การบรรลุธรรมต้องอาศัยการสั่งสมความ รู้ คู่กับความบริสุทธิ์ ซึ่งเราจะบริสุทธิ์ได้ด้วยใจที่หยุดนิ่ง และลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เมื่อปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังนั้นการฟังธรรมแม้จะเป็นบทเดิมๆ แต่ธรรมะทุกบทสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - คุณสมบัติของคนดี
แม้จะได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติเชนนั้น พระสารีบุตร ก็ไม่เคยลืมบุญคุณของพระอัสสชิซึ่งเป็นครูบาอาจารย์องค์แรก เวลาก่อนจำวัด ไม่ว่าจะเดินทางไปพักอยู่ที่ใดก็ตาม ท่านจะตามระลึกถึงพระอัสสชิเถระผู้เป็นอาจารย์เสียก่อน เมื่อทราบว่าพระอาจารย์พำนักอยู่ทางทิศใด จะจำวัดหันศีรษะไปทางทิศนั้น เป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ลูกน้อยโพธิ์สัตว์
มีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายคนเดียวชื่อ สวิฏฐกะ ได้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อมารดาละจากโลกนี้ไป เขาก็ปรนนิบัติดูแลบิดาด้วยดีเสมอมา บิดาสงสารเขา อยากจะหาคนมาช่วยทำงานบ้าน จึงให้เขาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่ง
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - พญานกแขกเต้า
เมื่อพราหมณ์เห็นพญานกแล้ว ก็อุ้มมานั่งบนตักด้วยความรัก แล้วกล่าวว่า นก แขกเต้าเอ๋ย ท้องเจ้าคงจะใหญ่กว่าท้องของนกตัวอื่นเป็นแน่ ถึงกินข้าวของเรา แล้วยังคาบเอากลับไปอีก เจ้ามีฉางสำหรับเก็บข้าวไว้หรือ หรือว่าเรามีเวรต่อกันมาก่อน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - หนทางสู่สวรรค์นิพพาน
เราไม่ควรประมาทในชีวิต ต้องมีสติเตือนตนเสมอว่า เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ ความตายไม่มีเครื่องหมายนำหน้า พึงเร่งขวนขวายสร้างความดี ละบาปอกุศล และทำจิตใจให้ผ่องใส เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเห็นว่า อีกไม่นานจะต้องจุติจากความเป็นเทพ พระองค์ก็ไม่ประมาท หาโอกาสสั่งสมบุญให้กับตนเองทันที
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ควรคุ้มครองอินทรีย์
วันหนึ่งท่าน ละเลยการคุ้มครองอินทรีย์ ได้ยืนมองดูมหาชน และเหลือบไปเห็นนางวรรณทาสีคนหนึ่งที่มีรูปร่างงดงาม จึงมีจิตปฏิพัทธ์ เมื่อเกิดความกำหนัดยินดี ฌานก็เสื่อม กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทนทุกข์ทรมานอยู่ถึง ๗ วัน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ทางแห่งความเสื่อม
การดำรงตนให้หนักแน่น มั่นคงอยู่บนความเป็นมงคลนั้น ย่อมนำสิ่งที่ดีมาให้กับชีวิตของเรา มงคล แปลว่า เหตุแห่งความเจริญ หากรู้เช่นนี้แล้ว เราจะเป็นผู้ที่ห่างไกลจากเหตุแห่งความเสื่อม ทางแห่งความเสื่อมนี้ เคยมีคนสงสัยเหมือนกันว่า ผู้ที่เสื่อมกับผู้ที่เจริญนั้น พวกเขาดำรงตนอยู่บนเส้นทางเช่นไร
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - อย่าล่วงละเมิดเกินขอบเขต
การล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม เป็นทางมาแห่งบาปอกุศล และเป็นความหมองใจ ที่ชักนำไปสู่อบายได้ การผิดศีลข้อที่ ๓ ในสังคมปัจจุบันนี้ ก็มีกันอยู่เนืองๆ เมื่อผิดพลาดล่วงเกินกันแล้ว ส่วนใหญ่มักไม่รู้ถึงโทษของการล่วงเกิน เหมือนดังพุทธพจน์ที่อุปมาไว้ว่า เหมือนปลาที่กำลังว่ายเข้าไปสู่เครื่องดัก ผลก็คือความตาย
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - ชีวิตดุจไม้ใกล้ฝั่ง
ยามใดที่บุคคลทั้งหลายละเลยการฟังธรรม ยามนั้นเขาย่อมเสียโอกาส ที่จะได้สัมผัสกับอมตธรรมอันทรงคุณค่า ทุกวันนี้มนุษย์ยังสับสนอยู่ ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต เมื่อไม่ได้ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตจึงต้องเวียนวนอยู่ในกระแสแห่งความทุกข์ระทม หากจะมีความสุขบ้าง ก็เพียงเล็กน้อยหรือชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เหมือนหลับแล้วฝันไป
ถวายผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทภาคฤดูร้อน
มาฆบูชา 2551
ถามฟ้าหารัก
ชายคนหนึ่ง...เมื่อเขามีโอกาสได้บวช ก็ซาบซึ้งในพระธรรม อยากจะใช้ชีวิตสมณะเรื่อยไป แต่เพราะภาวะทางเศรษฐกิจ ทำให้กิจการของครอบครัวต้องประสบภาวะขาดทุน เป็นหนี้สินมากมาย ทำให้ต้องลาสิกขา...เขาตั้งหน้าตั้งตาทำงาน จนสามารถใช้หนี้ได้หมด และยังมีเงินก้อนใหญ่เหลือเก็บ แต่เขากลับคิดว่า ตนเองโชคร้าย เพราะเขาอยากจะอยู่ในเพศสมณะมากกว่า
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๓)
พระราชาจึงตรัสถามนายคามณิจันท์ว่า "แล้วความจริงมันเป็นอย่างไรล่ะ ท่านจงเล่ามาซิ" เขาได้เล่าเรื่องราว ทั้งหมดไปตามความเป็นจริง ตั้งแต่ที่ยืมโคไปแล้ว จนเอามาส่งคืน แต่ยังไม่ได้บอกเจ้าของเพราะเจ้าของโคกับภรรยากำลังทานข้าวอยู่ และเจ้าของก็เห็นแล้วว่า โคเข้าบ้านไปแล้ว แต่ตอนที่โคหายไปนั้น หายไปตอนกลางคืน ซึ่งไม่รู้ว่าใครขโมยไป ส่วนพระราชาจะตัดสินอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สั่งสมบุญเพื่อตนเอง
เทพธิดาผู้ได้สั่งสมบุญไว้อย่างดีแล้วในครั้งที่เป็นมนุษย์ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีล ที่ได้สมาทานไว้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และมีดวงตาเห็นธรรมแทงตลอดในอริยสัจ แล้วผลบุญจะเป็นเ่ช่นไรนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ไม่มีความเห็นผิด ชีวิตปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ยุคที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก ก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังตกอยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า โลกานุวัตร หมายความว่า เป็นไปตามโลก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรระวังจากการรับฟังข่าวสาร คือ เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดแล้ว ควรใช้โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา ให้ละเอียดรอบคอบ ใช้สติและปัญญาพิจารณาเหตุผล
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - สมบัติเคียงคู่ผู้มีบุญ
จะเห็นได้ว่า ใครมีบุญ สมบัติจะไปอยู่กับคนนั้น นายควาญช้างเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ดีแล้วในกาลก่อน บุญนั้นจึงส่งผลให้เขาได้เป็นพระราชา เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสพระคาถาในสิริชาดก ติกนิบาตว่า
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน